Volleyball
วิลเลียม จี. มอร์แกน |
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกีฬาวอลเลย์บอล
*********************************
กีฬาวอลเลย์บอลเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1895 โดยนาย วิลเลียม จี. มอร์แกน (Willium G.Morgan)ผู้คิดค้นซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A. ( ย่อมาจาก Yong Man Cristian Association ) แห่งเมือง โฮลโยค มลรัฐแมสซาชูเซท ประเทศสหรัฐอเมริกา ในขณะที่เขากำลังคิดหากิจกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับนักธุรกิจสูงอายุกลุ่มหนึ่งที่ต้องการออกกำลังกายในร่ม โดยมีวิธี การเล่นที่ง่ายๆ เป็นลักษณะของนันทนาการมากกว่าที่จะเป็นกีฬา ในครั้งแรกเขาใช้ตาข่ายเทนนิสมาขึงกลางสนามบาสเกตบอลในโรงพลศึกษา มีความสูงจากพื้นถึงขอบบน 6 ฟุต ใช้ยางในของลูกบาสเกตบอลตีข้ามไปมาด้วยมือและแขนแล้วเรียกเกมนี้ว่า มินโตเนท โดยมีกติกาง่ายๆ เช่น ห้ามผู้เล่นถูกตาข่ายในขณะที่เล่นลูกห้ามผู้เล่นถือลูกไว้ในมือขณะที่รับลูกบอล เป็นต้น แต่เนื่องจากยางในของลูกบาสเกตบอลมีน้ำหนักเบาเกินไป ทำให้บังคับทิศทางได้ยาก มอร์แกนจึงว่าจ้างบริษัทหนึ่งให้ผลิตลูกบอลที่มีความเหมาะสมขึ้นมาใหม่ โดยเขาได้กำหนดขนาดและน้ำหนักของลูกบอลให้มีเส้นรอบวงประมาณ 25-27 นิ้ว มีน้ำหนักประมาณ 9-12 ออนซ์ ต่อมาเมื่อมีการสัมมนาทางพลศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์ในปี ค.ศ.1896 มอร์แกนได้นำเกมที่เขาคิดขึ้นไปสาธิตให้คณะกรรมการพลศึกษาชมด้วย ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจนกระทั่ง ดร. ที. เอ. ฮอลสตีด ผู้อำนวยการวิทยาลัยสปริงฟิลด์เสนอแนะให้เปลี่ยนชื่อเกมให้สอดคล้องกับลักษณะการเล่นว่า"วอลเลย์บอล" และได้รับการรับรองจากคณะกรรมการ พลศึกษาในปีนั้นเอง จากนั้นมา วอลเลย์บอลจึงได้แพร่หลายมากยิ่งขึ้นโดยลำดับ ดังนี้
ค.ศ. 1897 สมาคม Y.M.C.A. ได้ร่างกติกาขึ้นใช้เป็นครั้งแรก
ค.ศ. 1900 กีฬาวอลเลย์บอลเผยแพร่เข้าสู่แคนาดาและอินเดีย
ค.ศ. 1905 กีฬาวอลเลย์บอลเผยแพร่เข้าสู่ประเทศคิวบา
ค.ศ. 1909 กีฬาวอลเลย์บอลเผยแพร่เข้าสู่ประเทศเปอร์โตริโก
ค.ศ. 1910 กีฬาวอลเลย์บอลเผยแพร่เข้าสู่ประเทศฟิลิปปินส์
ค.ศ. 1912 กีฬาวอลเลย์บอลเผยแพร่เข้าสู่ประเทศอุรุกวัย
ค.ศ. 1913 กีฬาวอลเลย์บอลเผยแพร่เข้าสู่ประเทศจีน
ค.ศ. 1916 สมาคม วาย. เอ็ม. ซี. เอ. ปรับปรุงกติกาใหม่
ค.ศ. 1917 กีฬาวอลเลย์บอลเผยแพร่เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น
ค.ศ. 1922 สมาคม Y.M.C.A. จัดการแข่งขันวอลเลย์บอลแห่งชาติขึ้นที่เมืองพิทส์เบิร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา
ค.ศ. 1928 ดร. จอร์ช เจ. ฟิชเชอร์ ได้ประกาศจัดตั้งสมาคมวอลเลย์บอลแห่งสหรัฐอเมริกาขึ้น และจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลชิงแชมป์แห่งสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก ในเวลาต่อมาเขาถูกขนานนามว่าเป็น " บิดาแห่งวอลเลย์บอล "
ค.ศ. 1936 มีการจัดตั้ง สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ ขึ้น
ค.ศ. 1922 สมาคม Y.M.C.A. จัดการแข่งขันวอลเลย์บอลแห่งชาติขึ้นที่เมืองพิทส์เบิร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา
ค.ศ. 1928 ดร. จอร์ช เจ. ฟิชเชอร์ ได้ประกาศจัดตั้งสมาคมวอลเลย์บอลแห่งสหรัฐอเมริกาขึ้น และจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลชิงแชมป์แห่งสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก ในเวลาต่อมาเขาถูกขนานนามว่าเป็น " บิดาแห่งวอลเลย์บอล "
ค.ศ. 1936 มีการจัดตั้ง สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ ขึ้น
ค.ศ. 1947 สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติถูกจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ
มีสำนักงานอยู่ที่กรุงปารีส
ประเทศฝรั่งเศส
ค.ศ. 1949 มีการแข่งขันวอลเลย์บอลชิงแชมป์โลกขึ้นเป็นครั้งแรกที่กรุงปราก ประเทศสาธารณรัฐเชก
ค.ศ. 1954 ประเทศในเอเชียร่วมกันจัดตั้งสหพันธ์วอลเลย์บอลแห่งเอเชียขึ้น
ค.ศ. 1955 วอลเลย์บอลถูกบรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิคเป็นครั้งแรก ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และที่ประเทศญี่ปุ่นนี้เอง ได้เป็นผู้พัฒนาระบบการเล่นจากเดิมที่มีผู้เล่นฝ่ายละ 9 คน ลงมาเหลือฝ่ายละ 6 คน ซึ่งเป็นระบบการเล่นที่ยังคงใช้มาจนกระทั่งปัจจุบันนี้
ค.ศ. 1955 วอลเลย์บอลถูกบรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาโอลิมปิคเป็นครั้งแรก ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และที่ประเทศญี่ปุ่นนี้เอง ได้เป็นผู้พัฒนาระบบการเล่นจากเดิมที่มีผู้เล่นฝ่ายละ 9 คน ลงมาเหลือฝ่ายละ 6 คน ซึ่งเป็นระบบการเล่นที่ยังคงใช้มาจนกระทั่งปัจจุบันนี้
วอลเลย์บอลในทวีปเอเชีย
วอลเลย์บอลเผยแพร่เข้าสู่ทวีปเอเชียเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1900 ณ ประเทศอินเดีย และมีการแข่งขันกันเป็นครั้งแรกในกีฬาภาคพื้นตะวันออกไกลที่ประเทศ ฟิลิบปินส์ในปี ค.ศ.1913 จนกระทั่งปี ค.ศ.1954 จึงได้จัดตั้งสหพันธ์วอลเลย์บอลแห่งเอเชียขึ้น ต่อมาในปี ค.ศ.1955 ได้มีการจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลชายชิงชนะเลิศแห่งเอเชียขึ้นเป็นครั้งแรก ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น แล้วจึงได้บรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์เมื่อปี ค.ศ.1958 และบรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาแหลมทองที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพเมื่อปี ค.ศ. 1959 ( พ.ศ. 2502 ) และจัดการแข่งขันชิงชนะเลิศเยาวชนแห่งเอเชียครั้งแรกที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้เมื่อปี ค.ศ.1946
วอลเลย์บอลในประเทศไทย
กีฬาวอลเลย์บอลได้เผยแพร่เข้าสู่ประเทศไทยเมื่อใดนั้นไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด เพียงแต่อาจสันนิษฐานได้ว่าไทยเราเริ่มเล่นวอลเลย์บอลมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา แต่เป็นในหมู่ชาวจีนและชาวญวนที่เข้ามาตั้งรกรากอยู่ในประเทศไทย มีการแข่งขันระหว่างคณะ บางครั้งได้รับการติดต่อไปแข่งขันในภาคเหนือหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นครั้งคราว จนกระทั่งปี พ.ศ. 2477 กรมพลศึกษาในขณะนั้นซึ่งมี นอ. หลวงศุภชลาศัย รน. เป็นอธิบดีกรมฯ ได้จัดพิมพ์กติกาการแข่งขันขึ้นเป็นฉบับภาษาไทย โดยให้นายนพคุณ พงษ์สุวรรณ ซึ่งเป็นอาจารย์สอนภาษาจีนเป็นผู้แปลและเรียบเรียงมาจากฉบับภาษาจีน ในปีเดียวกันนั้นเอง กรมพลศึกษาก็ได้จัดให้มีการแข่งขันวอลเลย์บอลขึ้นเป็นครั้งแรก โดยเป็นการแข่งขันระดับนักเรียนจนกระทั่งปี พ.ศ.2500 ประเทศไทยจึงได้จัดตั้งสมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยมีพลเอกสุรจิตต์ จารุเศรณี เป็นนายกสมาคม ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า " สมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย " เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่สรรหานักกีฬาที่มีความสามารถมาทำการฝึกซ้อมเพื่อส่งเข้าร่วมแข่งขันในระดับนานาชาติต่อไป
วอลเลย์บอลเผยแพร่เข้าสู่ทวีปเอเชียเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1900 ณ ประเทศอินเดีย และมีการแข่งขันกันเป็นครั้งแรกในกีฬาภาคพื้นตะวันออกไกลที่ประเทศ ฟิลิบปินส์ในปี ค.ศ.1913 จนกระทั่งปี ค.ศ.1954 จึงได้จัดตั้งสหพันธ์วอลเลย์บอลแห่งเอเชียขึ้น ต่อมาในปี ค.ศ.1955 ได้มีการจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลชายชิงชนะเลิศแห่งเอเชียขึ้นเป็นครั้งแรก ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น แล้วจึงได้บรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์เมื่อปี ค.ศ.1958 และบรรจุเข้าแข่งขันในกีฬาแหลมทองที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพเมื่อปี ค.ศ. 1959 ( พ.ศ. 2502 ) และจัดการแข่งขันชิงชนะเลิศเยาวชนแห่งเอเชียครั้งแรกที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้เมื่อปี ค.ศ.1946
วอลเลย์บอลในประเทศไทย
กีฬาวอลเลย์บอลได้เผยแพร่เข้าสู่ประเทศไทยเมื่อใดนั้นไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด เพียงแต่อาจสันนิษฐานได้ว่าไทยเราเริ่มเล่นวอลเลย์บอลมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา แต่เป็นในหมู่ชาวจีนและชาวญวนที่เข้ามาตั้งรกรากอยู่ในประเทศไทย มีการแข่งขันระหว่างคณะ บางครั้งได้รับการติดต่อไปแข่งขันในภาคเหนือหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นครั้งคราว จนกระทั่งปี พ.ศ. 2477 กรมพลศึกษาในขณะนั้นซึ่งมี นอ. หลวงศุภชลาศัย รน. เป็นอธิบดีกรมฯ ได้จัดพิมพ์กติกาการแข่งขันขึ้นเป็นฉบับภาษาไทย โดยให้นายนพคุณ พงษ์สุวรรณ ซึ่งเป็นอาจารย์สอนภาษาจีนเป็นผู้แปลและเรียบเรียงมาจากฉบับภาษาจีน ในปีเดียวกันนั้นเอง กรมพลศึกษาก็ได้จัดให้มีการแข่งขันวอลเลย์บอลขึ้นเป็นครั้งแรก โดยเป็นการแข่งขันระดับนักเรียนจนกระทั่งปี พ.ศ.2500 ประเทศไทยจึงได้จัดตั้งสมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยมีพลเอกสุรจิตต์ จารุเศรณี เป็นนายกสมาคม ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า " สมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย " เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่สรรหานักกีฬาที่มีความสามารถมาทำการฝึกซ้อมเพื่อส่งเข้าร่วมแข่งขันในระดับนานาชาติต่อไป
กติกาการเล่นวอลเลย์บอลโดยสังเขป
สนามวอลเลย์บอลมีขนาดกว้าง
9 เมตร
ยาว 18 เมตร เส้นสนามทุกเส้น กว้างไม่น้อยกว่า 4
แต่ไม่เกิน
5 เซนติเมตร
มีเขตเสิร์ฟบริเวณเส้นหลังสนามกว้างเท่ากับความกว้างของสนาม และมีเส้นเขตรุกอยู่
ห่างจากเส้นแบ่งครึ่งสนาม 3 เมตร
เพื่อเป็นเขตจำกัดของผู้เล่นแดนหน้าและแดนหลัง
เสาตาข่ายทั้ง
สองข้างห่างจากเส้นข้างสนาม
50 เซนติเมตร
มีตาข่ายกว้าง 1 เมตร เมตร และยาว 10 เมตร ขึงกั้น
กึ่งกลางของสนามโดยมีความสูงมาตรฐานของชาย 2.43 เมตร และหญิง 2.24 เมตร ด้านบนของขอบ
ตาข่ายบริเวณวณเส้นข้างสนามทั้งสองข้างมีเสาอากาศสูง 80 เซนติเมตร เพื่อเป็นเขตจำกัดด้านข้าง
ของสนาม พื้นผิวสนามต้องเรียบ
เป็นพื้นราบและเหมือนกันตลอดทั้งสนาม ต้องไม่เป็นอันตรายจนเป็น
เหตุให้ผู้เล่นบาดเจ็บ
และไม่อนุญาตให้แข่งขันบนพื้นสนามที่ขรุขระหรือลื่น สำหรับการแข่งขันระดับโลก
ของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการอนุญาตให้ใช้ได้เฉพาะพื้นผิวสนาม
ที่เป็นไม้หรือพื้นผิวสังเคราะห์เท่านั้น
พื้นผิวสนามอื่นใด ต้องได้รับการรับรองจากสหพันธ์วอลเลย์บอล
ลูกบอล
ทรงกลม
ทำด้วยหนังฟอกหรือหนังสังเคราะห์ที่ยืดหยุ่นได้ ห่อหุ้มลูกบอลทรงกลมที่ทำด้วยยาง
หรือวัสดุที่คล้ายคลึงกัน สีของลูกบอลอาจเป็นสีอ่อน ๆ เหมือนกันทั้งลูก
หรืออาจเป็นหลายสีผสมกันก็ได้ ลูกบอลซึ่งทำด้วยวัสดุที่เป็นหนังสังเคราะห์มีหลายสีผสมกันและจะใช้ในการแข่งขันระดับนานาชาติอย่างเป็นทางการ
ต้องมีมาตรฐานตามที่สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติกำหนด ลูกบอลต้องมีแรงดันลม 0.30
– 0.325 กิโลกรัม/ตาราง ซม. ลูกบอลต้องมีเส้นรอบวงกลม 65 – 67 เซนติเมตร และหนัก 260– 280
กรัม
การเริ่มแข่งขัน
ใช้การเสี่ยงเลือกเสิร์ฟหรือเลือกแดน ก่อนแข่งให้วอร์มที่ตาข่าย 3 ถึง 5 นาที ถ้าทั้ง 2 ทีม ตกลงวอร์มพร้อมกันให้วอร์มที่ตาข่ายได้ 6 - 10 นาที
ตำแหน่งของผู้เล่น
ในขณะที่ผู้เสิร์ฟทำการเสิร์ฟ ผู้เล่นแต่ละคนต้องอยู่ในแดนของตน ผู้เล่นแถวหน้า 3 คน แถวหลังแต่ละคนจะต้องอยู่ด้านหลังของคู่ของตนทีเป็นผู้เล่นแถวหน้า การเล่นผิดตำแหน่งจะเป็นฝ่ายแพ้ในการเล่นลูกครั้งนั้น การหมุนตำแหน่งต้องหมุนตามเข็มนาฬิกา
การเปลี่ยนตัวผู้เล่น
เปลี่ยนตัวได้มากสุด 6 คนต่อเซต แต่ละครั้งจะเปลี่ยนกี่คนก็ได้ ผู้ที่เริ่มเล่นในเซตนั้น จะเปลี่ยนตัวออกได้ 1 ครั้งและกลับเข้ามาเล่นได้อีก 1 ครั้ง ในตำแหน่งเดิม ผู้เล่นสำรองจะเปลี่ยนตัวเข้าไปเล่นได้เพียงครั้งเดียวในแต่ละเซต และผู้เปลี่ยนเข้ามาต้องเป็นผู้เล่นคนเดิม
ใช้การเสี่ยงเลือกเสิร์ฟหรือเลือกแดน ก่อนแข่งให้วอร์มที่ตาข่าย 3 ถึง 5 นาที ถ้าทั้ง 2 ทีม ตกลงวอร์มพร้อมกันให้วอร์มที่ตาข่ายได้ 6 - 10 นาที
ตำแหน่งของผู้เล่น
ในขณะที่ผู้เสิร์ฟทำการเสิร์ฟ ผู้เล่นแต่ละคนต้องอยู่ในแดนของตน ผู้เล่นแถวหน้า 3 คน แถวหลังแต่ละคนจะต้องอยู่ด้านหลังของคู่ของตนทีเป็นผู้เล่นแถวหน้า การเล่นผิดตำแหน่งจะเป็นฝ่ายแพ้ในการเล่นลูกครั้งนั้น การหมุนตำแหน่งต้องหมุนตามเข็มนาฬิกา
การเปลี่ยนตัวผู้เล่น
เปลี่ยนตัวได้มากสุด 6 คนต่อเซต แต่ละครั้งจะเปลี่ยนกี่คนก็ได้ ผู้ที่เริ่มเล่นในเซตนั้น จะเปลี่ยนตัวออกได้ 1 ครั้งและกลับเข้ามาเล่นได้อีก 1 ครั้ง ในตำแหน่งเดิม ผู้เล่นสำรองจะเปลี่ยนตัวเข้าไปเล่นได้เพียงครั้งเดียวในแต่ละเซต และผู้เปลี่ยนเข้ามาต้องเป็นผู้เล่นคนเดิม
การเล่นลูกบอล
ผู้เล่นสามารถที่จะนำลูกบอลจากนอกเขตสนามกลับเข้ามาเล่นต่อได้ ทีมหนึ่งสามารถถูกลูกบอลได้มากที่สุด 3 ครั้ง ยกเว้นเมื่อทำการบล็อก (ได้ 4 ครั้ง) ผู้เล่นหนึ่งคนจะถูกลูกบอล 2 ครั้ง ติดต่อกกันไม่ได้ ยกเว้นการบล็อกถ้าผู้เล่นถูกลูกพร้อมกัน 3 คน ก็ถือว่าถูก 3 ครั้ง ถ้าถูกพร้อมกันเหนือตาข่ายก็จะไม่นับ ถ้าลูกบอลออกถือว่าฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามทำออก ถ้ายึดลูกบอลเหนือตาข่ายจะต้องเล่นใหม่ ลูกบอลที่ชนตาข่ายยังเล่นต่อไปได้จนครบ 3ครั้ง ตามกำหนดยกเว้นการเสิร์ฟ
การเสิร์ฟ
จะเสิร์ฟโดยผู้เล่นที่อยู่ในตำแหน่งหลังขวาที่อยู่ในเขตเสิร์ฟ การกำหนดทีมที่จะเสิร์ฟ ลูกแรกในเซตที่ 1 และ 5 โดยการเสี่ยง ต้องเสิร์ฟตามลำดับที่บันทึกไว้ เมื่อโยนออกไปเพื่อเสิร์ฟแล้ว ต้องใช้มือหรือส่วนใดของแขนข้างเดียว กระโดดเสิร์ฟได้ ต้องเสิร์ฟลูกภายใน 5 วินาที หลังจากผู้ตัดสินเป่านกหวีด ถ้าเสิร์ฟพลาดไม่ถูกลูก ผู้ตัดสินจะให้เสิร์ฟใหม่ภายใน 3 นาที
การตบลูกบอล
ผู้เล่นในแดนหน้าสามารถตบลูกบอลด้วยวิธีใดก็ได้จากแดนของตนเองในความสูงทุกระดับ โดยในขณะที่สัมผัสลูกบอลนั้น ลูกบอลจะต้องอยู่ในแดนของตนเองเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดก็ได้ ส่วนผู้เล่นในแนวหลังสามารถกระโดดตบลูกได้ แต่จะต้องตบจากเขตแดนหลัง การตบลูกบอลดังกล่าวหากไม่เป็นตามกติกาข้อนี้ถือว่าเสีย
การสกัดกั้น ( บล็อก )
ผู้เล่นแถวหน้าเท่านั้นที่บล็อกได้ จะบล็อกเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มก็ได้ เมื่อบล็อกได้แล้วยังถูกลูกได้อีก 3 ครั้งห้ามบล็อกลูกเสิร์ฟ สามารถใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกายตั้งแต่หัวจรดเท้าถูกลูกบอลได้
การล้ำแดนผิดระเบียบ
ผู้เล่นสามารถที่จะนำลูกบอลจากนอกเขตสนามกลับเข้ามาเล่นต่อได้ ทีมหนึ่งสามารถถูกลูกบอลได้มากที่สุด 3 ครั้ง ยกเว้นเมื่อทำการบล็อก (ได้ 4 ครั้ง) ผู้เล่นหนึ่งคนจะถูกลูกบอล 2 ครั้ง ติดต่อกกันไม่ได้ ยกเว้นการบล็อกถ้าผู้เล่นถูกลูกพร้อมกัน 3 คน ก็ถือว่าถูก 3 ครั้ง ถ้าถูกพร้อมกันเหนือตาข่ายก็จะไม่นับ ถ้าลูกบอลออกถือว่าฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามทำออก ถ้ายึดลูกบอลเหนือตาข่ายจะต้องเล่นใหม่ ลูกบอลที่ชนตาข่ายยังเล่นต่อไปได้จนครบ 3ครั้ง ตามกำหนดยกเว้นการเสิร์ฟ
การเสิร์ฟ
จะเสิร์ฟโดยผู้เล่นที่อยู่ในตำแหน่งหลังขวาที่อยู่ในเขตเสิร์ฟ การกำหนดทีมที่จะเสิร์ฟ ลูกแรกในเซตที่ 1 และ 5 โดยการเสี่ยง ต้องเสิร์ฟตามลำดับที่บันทึกไว้ เมื่อโยนออกไปเพื่อเสิร์ฟแล้ว ต้องใช้มือหรือส่วนใดของแขนข้างเดียว กระโดดเสิร์ฟได้ ต้องเสิร์ฟลูกภายใน 5 วินาที หลังจากผู้ตัดสินเป่านกหวีด ถ้าเสิร์ฟพลาดไม่ถูกลูก ผู้ตัดสินจะให้เสิร์ฟใหม่ภายใน 3 นาที
การตบลูกบอล
ผู้เล่นในแดนหน้าสามารถตบลูกบอลด้วยวิธีใดก็ได้จากแดนของตนเองในความสูงทุกระดับ โดยในขณะที่สัมผัสลูกบอลนั้น ลูกบอลจะต้องอยู่ในแดนของตนเองเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดก็ได้ ส่วนผู้เล่นในแนวหลังสามารถกระโดดตบลูกได้ แต่จะต้องตบจากเขตแดนหลัง การตบลูกบอลดังกล่าวหากไม่เป็นตามกติกาข้อนี้ถือว่าเสีย
การสกัดกั้น ( บล็อก )
ผู้เล่นแถวหน้าเท่านั้นที่บล็อกได้ จะบล็อกเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มก็ได้ เมื่อบล็อกได้แล้วยังถูกลูกได้อีก 3 ครั้งห้ามบล็อกลูกเสิร์ฟ สามารถใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกายตั้งแต่หัวจรดเท้าถูกลูกบอลได้
การล้ำแดนผิดระเบียบ
ก่อนหรือระหว่างการตบของคู่ต่อสู้ หรือสัมผัสลูกบอลในแดนคู่ต่อสู้เข้าไปในแดนคู่ต่อสู้ขณะที่ลูกบอลยังอยู่ในการเล่น
และตัวผู้เล่นถูกตาข่ายหรือเสาอากาศถือเป็นการล้ำแดนที่ผิดกติกา
การขอเวลานอก
ขอได้ 2 ครั้งต่อเซต ไม่ให้เปลี่ยนตัว 2 ครั้งต่อเนื่องกัน การขอเวลานอกมีเวลา 30 วินาที ในระหว่างการขอเวลานอกผู้เล่นทุกคนต้องออกไปอยู่บริเวณเขตรอบสนามใกล้ม้านั่ง
การเปลี่ยนตัวมากกว่า 1 คน
ให้แจ้งก่อนและเปลี่ยนทีละคู่ตามลำดับ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น
การหยุดพัก
พักระหว่างเซตแต่ละเซตพักได้ไม่เกิน 30 วินาที ส่วนการพักเซตที่ 4 และเซตที่ 5 พักได้ 5 นาที ทั้งสองทีมต้องตั้งแถวที่แนวเส้นหลังทันทีที่ผู้ตัดสินเรียกลงสนามแข่งขันต่อ และเมื่อสิ้นสุดการแข่งขันในแต่ละเซต ทั้งสองทีมต้องเปลี่ยนแดนกัน นอกจากเซตตัดสิน
การเปลี่ยนแดน
เมื่อเสร็จแต่ละเซตทั้ง 2 ทีมจะต้องเปลี่ยนแดนยกเว้นเซตตัดสิน เซตตัดสินทีมใดได้ 8 คะแนนน ให้เปลี่ยนแดนทันทีและตำแหน่งของผู้เล่นเป็นตามเดิม
ขอได้ 2 ครั้งต่อเซต ไม่ให้เปลี่ยนตัว 2 ครั้งต่อเนื่องกัน การขอเวลานอกมีเวลา 30 วินาที ในระหว่างการขอเวลานอกผู้เล่นทุกคนต้องออกไปอยู่บริเวณเขตรอบสนามใกล้ม้านั่ง
การเปลี่ยนตัวมากกว่า 1 คน
ให้แจ้งก่อนและเปลี่ยนทีละคู่ตามลำดับ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น
การหยุดพัก
พักระหว่างเซตแต่ละเซตพักได้ไม่เกิน 30 วินาที ส่วนการพักเซตที่ 4 และเซตที่ 5 พักได้ 5 นาที ทั้งสองทีมต้องตั้งแถวที่แนวเส้นหลังทันทีที่ผู้ตัดสินเรียกลงสนามแข่งขันต่อ และเมื่อสิ้นสุดการแข่งขันในแต่ละเซต ทั้งสองทีมต้องเปลี่ยนแดนกัน นอกจากเซตตัดสิน
การเปลี่ยนแดน
เมื่อเสร็จแต่ละเซตทั้ง 2 ทีมจะต้องเปลี่ยนแดนยกเว้นเซตตัดสิน เซตตัดสินทีมใดได้ 8 คะแนนน ให้เปลี่ยนแดนทันทีและตำแหน่งของผู้เล่นเป็นตามเดิม
ถ้ามีเหตุระหว่างเล่นให้หยุด แล้วเล่นลูกนั้นใหม่ถ้ามีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต้องหยุดนานไม่เกิน
4 ชม.ถ้าทำการแข่งขันใหม่ใช้สนามเดิม
เซตที่หยุดการแข่งขันจะนำมาแข่งขันตามปกติ ถ้าใช้สนามอื่นให้ยกเลิกเซตนั้นแล้วเริ่มต้นใหม่
ผลของเซตที่ผ่านมามีผลเหมือนเดิม ถ้าหยุดเกิน 4 ชั่วโมงต้องเริ่มแข่งใหม่ทั้งหมด
ข้อห้ามของผู้เล่น
ห้ามมิให้ผู้เล่นสวมเครื่องประดับที่เป็นโลหะของแข็งในระหว่างการแข่งขันทุกชนิด
มารยาทของผู้เล่น
ผู้เล่นต้องยอมรับผลการแข่งขัน สุภาพอ่อนโยนต่อผู้ตัดสินและฝ่ายตรงข้าม ไม่ควรแสดงท่าทางและทัศนะคติที่ใม่ดีระหว่างแข่งขันหรือแสดงพฤติกรรมอื่นใดที่ไม่เป็นการสุภาพต่อผู้อื่น
ข้อห้ามของผู้เล่น
ห้ามมิให้ผู้เล่นสวมเครื่องประดับที่เป็นโลหะของแข็งในระหว่างการแข่งขันทุกชนิด
มารยาทของผู้เล่น
ผู้เล่นต้องยอมรับผลการแข่งขัน สุภาพอ่อนโยนต่อผู้ตัดสินและฝ่ายตรงข้าม ไม่ควรแสดงท่าทางและทัศนะคติที่ใม่ดีระหว่างแข่งขันหรือแสดงพฤติกรรมอื่นใดที่ไม่เป็นการสุภาพต่อผู้อื่น
การผิดมารยาทและบทลงโทษ
พฤติกรรมการทำผิด
|
จำนวนครั้ง
|
บทลงโทษ
|
แสดงบัตรลงโทษ
|
ผลที่เกิดขึ้น
|
การแสดงมารยาทที่ไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬา
|
ครั้งที่ 1
ครั้งที่ 2
|
เตือน
ลงโทษ
|
บัตรเหลือง
บัตรแดง
|
--
ฝ่ายตรงข้ามได้คะแนน
หรือได้เสิร์ฟ
|
การแสดงมารยาทที่หยาบคาย
|
ครั้งที่ 1
ครั้งที่ 2
|
ลงโทษ
เชิญออก
|
บัตรแดง
บัตรเหลือง-แดง ติดกัน
|
ฝ่ายตรงข้ามได้คะแนนหรือได้เสิร์ฟ
ออกจากสนามแข่งขัน
|
การแสดงมารยาทที่ก้าวร้าว
|
ครั้งที่ 1
ครั้งที่ 2
|
เชิญออก บัตรเหลือง-แดง
ติดกัน
บัตรเหลือง-แดงแยกจากกัน
|
ออกจากสนามแข่งขัน
|
|
การแสดง ครั้งที่ 1
มารยาท
ที่รุกราน
| เชิญออก บัตรเหลือง-แดงแยกจากกัน | ออกจากสนามแข่งขัน- |
การเคลื่อนไหวและกิจกรรมทางกาย>>> ให้นักเรียนระดับชั้น ม.4 ศึกษาเรื่องการเคลื่อนไหวและกิจกรรมทางกายจากลิงค์นี้ด้วย
x